AdminLTELogo
พาน้องกลับห้องเรียน สพป.พิษณุโลก เขต 2
รายการผลการติดตามนักเรียน
24 กันยายน 2565
13:40:09

โรงเรียนบ้านเนินมะปราง เด็กหญิงพัณณิตา   ทับทิม

นักเรียนขาดเรียนตั้งเเต่ 29 สิงหาคม 2565 ทางโรงเรียนเเละครูประจำชั้นมีการติดตาม และเดินทางไปบ้าน เด็กแล้ว 4 ครั้ง  

ผู้ประสานงาน นายกฤติเดช ธรรมรัตนเมธา

เบอร์โทรศัพท์ 099-0187-990

เฝ้าระวังนักเรียนออกกลางคัน
28 มกราคม 2566
11:10:48

การติดตามนักเรียน โรงเรียนบ้านเนินมะปราง

ในวันที่ 13 มกราคม 2566 โรงเรียนบ้านเนินมะปรางร่วมกันเจ้าหน้าที่เขตพื้นที่และนักจิตวิทยาเข้าติดตามนักเรียน 

มีความเห็นร่วมกัน ของ ผู้ปกครอง นักจิตวิทยา และ ผู้อำนวยการโรงเรียนให้นักเรียนเข้าพบ แพทย์ที่โรงพยาบาลเนินมะปราง ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2566 เพื่อประเมินอาการนักเรียน และวางแผนช่วยเหลือนักเรียนคือไป

ผู้รายงาน นางสาวกวิศญาร์ อินสา

07 พฤศจิกายน 2565
14:21:29

การติดตามนักเรียน โรงเรียนสพป.พิษณุโลก เขต 2

แนวปฏิบัติของครูประจำชั้น

1. ในกรณีที่นักเรียนหยุดเรียนติดต่อกัน 3 วัน ครูประจำชั้นต้องทราบข้อมูลและสาเหตุการขาดเรียน

2. ในกรณีที่นักเรียนหยุดเรียนติดต่อกันเกิน 5 วัน หรือหยุดเรียนเกิน 7 วันภายใน 1 เดือนครูประจำชั้นติดตามนักเรียน สังเกตุพฤติกรรมนักเรียน เพื่อให้ทราบถึงสาเหตุการหยุดเรียนของนักเรียน และบันทึกรายงานให้ผู้บริหารสถานศึกษาและครูงานทะเบียนโดยพลัน

3. ในกรณีที่นักเรียนหยุดเรียนต่อเนื่องเกิน 1 เดือน ครูประจำชั้นจัดทำข้อมูลพื้นฐานนักเรียน และสภาพปัญหาสาเหตุที่นักเรียนหยุดเรียนเป็นเวลานาน (ตามแบบ 1 สพป.พิษณุโลก เขต 2) เพื่อส่งต่อให้ครูที่รับผิดชอบงานทะเบียน


 แนวปฏิบัติของครูงานทะเบียน

1.      ในกรณีที่ได้รับรายงานจากครูประจำชั้นว่ามีนักเรียนหยุดเรียนติดต่อกันเกิน 5 วัน

หรือหยุดเรียนเกิน 7 วันภายใน 1 เดือน ให้รีบดำเนินการบันทึกข้อความรายงานนักเรียน ขาดเรียนนาน ให้ผู้บริหารทราบ (ครั้งที่ 1)

2.ผู้บริหารสถานศึกษาแจ้งเป็นหนังสือเตือนให้ผู้ปกครองนำนักเรียนมาเข้าเรียนโดยพลันโดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับหรือให้ผู้ปกครองลงชื่อรับหนังสือโดยตรง (แบบ พฐ.17)

3.      กรณีที่ผู้ปกครองไม่ส่งเด็กเข้าเรียนภายหลังจากได้รับแจ้งเป็นหนังสือตามข้อ 2 แล้ว(จำนวน 2 ครั้ง) สถานศึกษารายงานให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้วแต่กรณีทราบ (แบบ พฐ. 17/1)

4.      เมื่อแจ้งครั้งที่ 1 แล้ว หากผู้ปกครองยังไม่นำนักเรียนมาติดตามกำหนด (ขาดเกิน10 วัน) ให้ครูงานทะเบียนติดตามนักเรียน และรายงานให้ครูระบบดูแลทราบ คือ (บันทึกข้อความรายงานนักเรียนขาดเรียนนาน (ครั้งที่ 2) โดยระยะเวลาจาก ครั้งที่ 1 ถึงครั้งที่ 2 ห่างกันเป็นเวลา 7 วัน และทำหนังสือเตือนให้ผู้ปกครองส่งนักเรียนเข้าเรียน ให้ผู้ปกครองรับทราบโดยใช้  (แบบ พฐ.17)

5.      กรณีแจ้งครบ 2 ครั้งแล้ว ยังไม่ได้รับการติดต่อจากนักเรียน/ผู้ปกครอง ให้ทำบันทึกข้อความแจ้งผู้บริหารสถานศึกษาทันที

6.      การติดตามนักเรียนทุกกรณี ให้ครูประจำชั้นรายงานผลการติดตามนักเรียนผ่านครูผู้รับผิดชอบระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน


 แนวปฏิบัติของครูระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน/ ครูแนะแนว

1.      เมื่อได้รับรายงานจากครูประจำชั้นว่ามีนักเรียนหยุดเรียนติดต่อกันเกิน 5 วันหรือหยุด

เรียนเกิน 7 วันภายใน 1 เดือน ให้รีบดำเนินการร่วมกับครูประจำชั้น เพื่อวิเคราะห์ถึงสาเหตุ และความจำเป็นที่นักเรียนหยุดเรียนเป็นเวลานาน

2.      รายงานสภาพปัญหาให้ผู้บริหารสถานศึกษา ทราบในทันที

3.      ติดต่อ ประสานงานผู้ปกครองนักเรียนเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน

4.      ในกรณีที่ดำเนินการตามข้อ 3 แล้ว ผู้ปกครองยังไม่ส่งนักเรียนมาเข้าเรียนให้รายงานผู้บริหารสถานศึกษา ทราบ ในทันที และ

5.      จัดทำข้อมูลพื้นฐานของนักเรียนหยุดเรียนเป็นเวลานาน (ตามแบบ 2 สพป.พิษณุโลกเขต 2)

6. พิจารณาข้อมูลนักเรียน ด้านสภาพความเป็นอยู่ของครอบครัว สภาพปัญหาที่พบเห็นและดำเนินการออกเยี่ยมบ้านนักเรียนรายบุคคล

7.      พิจารณาดำเนินงานการให้คำปรึกษารายบุคคลกับนักเรียนที่ยังคงอยู่ในพื้นที่เพื่อให้นักเรียนเกิดความเข้าใจตนเอง และเพื่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของนักเรียน

8.      ในการติดตามนักเรียนแต่ละครั้งให้ครูระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน/ครูแนะแนวเก็บข้อมูลของการติดตามแต่ละครั้งไว้เป็นหลักฐาน โดยจัดทำแฟ้มนักเรียนที่หยุดเรียนเป็นเวลานานเป็นรายบุคคล  ตามแบบฟอร์ม

8.1 บันทึกข้อความรายงานนักเรียนขาดเรียนนาน (ของสถานศึกษา)

8.2 แบบหนังสือเตือนให้ผู้ปกครองส่งนักเรียนเข้าเรียน (แบบ พฐ.17)

8.3 แบบรายงานกรณีนักเรียนหยุดเรียน (แบบ พฐ.17/1)

8.4 แบบบัญชีรายงานการติดตามนักเรียนหยุดเรียนเป็นเวลานาน     (แบบ 1 สพป.พิษณุโลก เขต 2)

8.5 แบบข้อมูลพื้นฐานของนักเรียนหยุดเรียนเป็นเวลานาน   (แบบ 2 สพป.พิษณุโลก เขต 2)

 แนวปฏิบัติของผู้บริหารสถานศึกษา

1.      เมื่อได้รับรายงานจากครูงานทะเบียน หรือครูระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในกรณีที่นักเรียนหยุดเรียนเป็นเวลานาน ให้พิจารณาหาแนวทางการช่วยเหลือนักเรียนต่อคณะกรรมการสถานศึกษา

2.      ประสานงานการติดตามนักเรียนที่หยุดเรียนเป็นเวลานาน กับผู้ใหญ่บ้านกำนันในเขตพื้นที่ของสถานศึกษา

         3. พิจารณาวางแผนการแก้ไขปัญหานักเรียน ร่วมกับคณะกรรมการสถานศึกษาผู้ปกครองกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง และ/ หรือให้ความช่วยเหลือ ตามสภาพความจำเป็นของนักเรียน

3.      เน้นย้ำ ชี้แจงผู้ปกครองถึงผลกระทบต่อความผิดมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน)

4.      ในกรณีที่ดำเนินงานตามข้อ 1-4 แล้ว ผู้ปกครองยังไม่ส่งนักเรียนมาเข้าเรียนให้รายงานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2 (แบบ พฐ. 17/1) และ (แบบ 1,   แบบ 2 สพป.พิษณุโลก เขต 2) ในทันที

5.      พิจารณา นักเรียนที่หยุดเรียนเป็นเวลานาน อาจจะไม่อยู่ในพื้นที่ ไปทำงานต่างถิ่นเป็นประจำ หรือไปอาศัยอยู่กับผู้ปกครองให้ครูงานทะเบียน นำหนังสือแบบรับรองการไม่มีตัวตน (แบบ พฐ.23) ให้ผู้ปกครองท้องถิ่น (ผู้ใหญ่บ้าน หรือกำนัน) ในพื้นที่ของนักเรียนลงชื่อรับรองแล้วดำเนินการแจ้งครูงานทะเบียนนักเรียนเพื่อดำเนินการและนำส่งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ดำเนินการต่อไป

6.      กรณีนักเรียนที่มีสาเหตุความจำเป็นเป็นกรณีพิเศษที่ไม่สามารถเรียนในระบบได้ และมีความจำเป็นต้องส่งต่อไปเรียนนอกระบบการศึกษา ให้ผู้ปกครองยื่นความประสงค์ที่โรงเรียน และรายงานให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 2 เพื่อพิจารณาความจำเป็นต่อไป

 

 แนวปฏิบัติของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

1.      เมื่อได้รับรายงานจากสถานศึกษา (ตามแบบ พฐ.17/1) และ (แบบ 1, แบบ 2 สพป.พิษณุโลก เขต 2 และ แบบใบส่งการรับคำปรึกษาทางจิตวิทยา) แล้ว

2.      พิจารณาคัดกรอง สาเหตุ และสภาพปัญหาของนักเรียนเป็นรายบุคคล

3.      ประสานงานผู้บริหารสถานศึกษา ครูงานทะเบียน และครูผู้รับผิดชอบงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อเตรียมการออกเยี่ยมบ้านนักเรียน

4.      กลั่นกรองสภาพปัญหานักเรียนเป็นรายบุคคล

5.      ติดต่อ ประสานงานผู้ปกครองนักเรียนโดยตรง เพื่อให้ผู้ปกครองส่งนักเรียนเข้าเรียนตามปกติ

6.      ในกรณีที่ผู้ปกครองยังไม่ส่งนักเรียนเข้าเรียนตามปกติ พิจารณาแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินการออกเยี่ยมบ้านนักเรียน เพื่อหาแนวทางการช่วยเหลือนักเรียนเป็นรายบุคคล

7.      พิจารณาดำเนินงานการให้คำปรึกษารายบุคคลกับนักเรียนโดยตรง โดยนักจิตวิทยาโรงเรียน ประจำสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อให้นักเรียนรู้จัก เข้าใจ ยอมรับตนเองและปัญหาที่กำลังเผชิญและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง เพื่อจุดมุ่งหมายให้นักเรียนกลับเข้ามาเรียนในสถานศึกษาจนจบการศึกษาภาคบังคับ

8. ประสานงานผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงานทางการศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความช่วยเหลือตามสภาพปัญหาของแต่ละบุคคล

9. พิจารณาความจำเป็นของผู้ปกครองที่มีความประสงค์จะส่งนักเรียนเข้าเรียนนอกระบบกับศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (ใกล้เขตพื้นที่บริการ หรือใกล้ที่อยู่อาศัยของนักเรียนในปัจจุบัน) โดยแจ้งให้ผู้ปกครองทำการย้ายนักเรียนออกจากสถานศึกษา เพื่อ       ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้พิจารณาต่อไป

10. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการให้ความดูแลช่วยเหลือและรับนักเรียนเข้าศึกษาต่อจบการศึกษาภาคบังคับ

11. ชี้แจง สร้างความตระหนัก และสร้างขวัญ กำลังใจให้กับนักเรียน/ผู้ปกครองในความจำเป็นของการศึกษาต่อจนจบการศึกษาภาคบังคับ

12.  ติดตาม ตรวจสอบหน่วยงานทางการศึกษาปลายทางที่ผู้ปกครองแจ้งความประสงค์ไปเข้าเรียน

13. จัดทำข้อมูลสารสนเทศการส่งต่อนักเรียน การติดตามผล

14.  จัดทำเกียรติบัตร ยกย่องให้กับบุคลากรในสถานศึกษาที่ดำเนินการติดตาม และสรุปรายงานผลการดำเนินงานการติดตามนักเรียนที่หยุดเรียนเป็นเวลานาน ได้กลับเข้ามาเรียน  ในระบบหรือส่งต่อนักเรียนไปนอกระบบ จนสำเร็จทุกขั้นตอน

คู่มือการติดตามนักเรียน https://drive.google.com/drive/folders/1wa1V_05yBJm6MCvE0xhgvwl3Ezt9TEtY

ผู้รายงาน นางณิชาภา สังข์เมือง